Word of the Week
ศัพท์ทางการออกแบบการพิมพ์
งานร่วมกันจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
เพื่อนักศึกษา/สมาชิกทุกคนได้ศึกษาค้นคว้าและแบ่งปันองค์ความรู้และเรียนรู้ร่วมกันนอกชั้นเรียน ได้ฝึกปฎิบัติการออกแบบจัดหน้าเอกสารสิ่งพิมพ์ออนไลน์(Online Layout Design and Publishing) ด้วยการใช้เครื่องมือออนไลน์(Online Tools) ดังนั้นจึงให้ทุกคนค้นหาคำศัพท์หรือสรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับทางการออกแบบทางการพิมพ์ มาแนะนำไว้ต่อท้ายในหน้านี้ สับดาห์ละ 1 คำ หรือ 1 เรื่อง จัดหน้าแบบเสมอซ้ายแทรกภาพประกอบแบบใช้อักษรล้อมภาพตามวิธีที่อาจารย์แนะนำและฝึกในชั้นเรียนให้ถูกต้องสวยงาม เนื้อหาต้องมีการอ้างอิงตามหลักวิชาการให้ถูกต้อง พร้อมแจ้งชื่อเป็นหลักฐานให้เรียบร้อย เช่น
ความหมายของกราฟิก (Graphic Definitions)
ใน Webster ‘s Collegiate Dictionary ( 1940 : 435) ได้นิยามความหมายของกราฟิกไว้เป็น 2 ประเด็น คือ
1.เกี่ยวกับศิลปะ (ศิลปะภาพพิมพ์) การวาด การระบายสี การแกะสลัก และศิลปะรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางความคิด โดยแสดงนัยแห่งเส้น ร่องรอยประทับลงบนพื้นระนาบ 2.เกี่ยวกับการขีดเขียน หรือสิ่งที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ กราฟิก (Graphic) “เดิมเป็นคำลาติน หมายถึง ลายเส้น ภาพที่เขียนด้วย ลายเส้นหรือแม้แต่เป็นจุด ซึ่งได้แก่ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพวาด แผนที่เป็นต้น” (สมเชาว์ เนตรประเสริฐ 2523 : 135) “Graphic แต่เดิมหมายถึงงานวาดเส้นและศิลปะภาพพิมพ์”(กำจร สนพงษ์ศรี กล่าวถึงใน ประชิด ทิณบุตร 2530 : คำนิยม) ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2530 : 85) ได้กล่าวถึง Graphic Art โดยแปลและบัญญิติเป็นคำไทยว่า เลขนศิลป์ ซึ่งให้ความหมายไว้ว่า “ศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมุ่งให้เกิดความงามอันเป็นผลมาจากการใช้เส้น มิใช่ผลจากการใช้สีดังงานจิตรกรรม โดยทั่วไปแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ภาพวาดเส้น (Drawing) และภาพพิมพ์(Engraving)” จากความหมายของศัพท์ทั้งสองคำที่อ้างอิงมา จะเห็นว่า แต่ละคำก็มี
ความหมายเฉพาะที่แยกกันเด่นชัด โดยที่การออกแบบนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการจัดการและกระบวนการ (Process) ในอันที่จะต้องเกิดพฤติกรรมแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อการบรรลุถึงซึ่งสิ่งอันเป็นเป้าประสงค์ที่คาดหวังไว้ ส่วนในความหมายของกราฟิกนั้น มีความหมายเป็นความเกี่ยวข้องของงาน ที่เด่นชัดคือ งานที่มีลักษณะเป็น จุด เส้น และศิลปะภาพพิมพ์ อันเป็นลักษณะสำคัญของผลงานที่สำเร็จออกมา ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Graphic DesignDefinitions)
สำหรับความหมายของ Graphic Design ก็มีผู้ให้คำนิยามไว้มากมาย ดังที่ได้นำมาอ้างอิงไว้ดังนี้คือ
การออกแบบกราฟิก เป็นกิจกรรมการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับ การแก้ปัญหาทางทัศนสื่อสาร (Taylor 1971 : 7) การออกแบบกราฟิก มีขอบข่ายและความหมายที่กว้าง แต่โยคำจำกัดความแล้วเป็นผลงานเพียง 2 มิติ โดยที่นักออกแบบจะทำงานเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ต้นแบบเพื่อการผลิตซ้ำ (Reproduction) มากกว่าการมุ่งหมายเพื่อเป็นงานศิลปะบริสุทธิ์ (Dabis 1973 : 7) การออกแบบกราฟิก เป็นผลงานการออกแบบลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนได้ดูได้ดู ได้อ่าน เช่น หนังสือ นิตยสาร การโฆษณา ภาพยนตร์ โทรทัศน์ นิทรรศการ (Berryman 1979 : 2) การออกแบบกราฟิก เป็นกิจกรรมการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับทัศนสื่อสาร (Ball 1981 : 21) การออกแบบกราฟิก เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการหาลู่ทางของแนวความคิด ที่จะติดต่อสื่อสาร และการบอกกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยการใช้ถ้อยคำและภาพ ประกอบกันเป็นข่าวสารที่สามารถสื่อแสดง หรือนำเสนอให้เกิดการรับรู้โดยทางประสาทตา (Green 1983 : 49) การออกแบบกราฟิก เป็นการออกแบบทัศนสื่อสารที่เน้นย้ำการนำพาข่าวสารต่าง ๆ อย่างมีความหมายและได้นัยสำคัญ (Resnick 1984 : 2) การออกแบบกราฟิก คือ การถ่ายทอดความคิดและมโนทัศน์ (Ideas and Concepts) ออกมาเป็นโครงสร้าง ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ทางทัศนสัญลักษณ์ (Laing 1984 : 9) การออกแบบกราฟิก “การออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องหมาย และการออกแบบเกี่ยวกับการพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม” (อารี สุทธิพันธุ์ 2521 : 19) การออกแบบกราฟิก “จัดว่าเป็นงานออกแบบเพื่อการเผยแพร่ คือ งานออกแบบที่มุ่งชักชวนเรียกร้อง หรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ บริการ และความคิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานในลักษณะสิ่งพิมพ์ งานออกแบบหีบห่อ งานโฆษณา” (วิรุณ ตั้งเจริญ 2527 : 85) จากการที่ได้แยกอธิบายความหมายของศัพท์แต่ละคำและจากคำนิยามในความหมายรวมของการออกแบบกราฟิกนั้นจะเห็นว่า สาระสำคัญมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปคำเดิมแต่อย่างไร โดยสรุปแล้วจึงกล่าวได้ว่า การออกแบบกราฟิก เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับทัศนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้สร้างสรรค์จะต้องจัดเตรียมการและนำเสนอข่าวสาร (Message) ต่อผู้ดูผู้อ่านให้สามารถรับรู้ความหมาย และแปลความได้ผ่านทางประสาทตา ด้วยการจัดสื่อกลางต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ รูปภาพและอื่น ๆ รวมกันโดยที่ต้องอาศัยความรู้วิทยาการทักษะ กรรมวิธีของการ ขีด เขียน การบันทึกภาพ การพิมพ์ ตลอดจนเทคนิคการสร้างสรรค์ค์ผ่านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องกลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นผลงานที่ประณีตเรียบร้อยสวยงาม สามารถใช้ติดต่อสื่อสารและโน้มน้าวจิตใจกลุ่มประชากรเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การออกแบบกราฟิก จึงจัดว่าเป็นงานที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงาน หรือนักออกแบบจะต้องหาวิธีการจัดการ (Manage) สร้างสรรค์ (Create) และนำเสนอ (Present) ผลงานที่เป็นสื่อทัศน์ (Visual Forms) ที่หลากหลายรูปแบบและกรรมวิธีด้วยนั่นเอง
ผศ.ประชิด ทิณบุตร ประชิด ทิณบุตร.การออกแบบกราฟฟิค.กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์,2531 เพลท คือ แม่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ตแม่พิมพ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ เคลือบด้วยสารเคมีบางอย่าง แต่ที่ต้องรู้ไว้ก็คือ ต้นทุนในการทำแม่พิมพ์เป็นต้นทุนคงที่ เช่น แม่พิมพ์ 4 สี สมมติว่าต้นทุน 10,000 บาท ถ้าคุณพิมพ์ โปสเตอร์ 1 ใบก็ต้องเสียค่าแม่พิมพ์ 10,000 บาท แต่ถ้าพิมพ์ 1,000 ใบค่าแม่พิมพ์เฉลี่ยแล้วเหลือใบละ 10 บาท ซึ่งถูกลงกว่าเดิม
ข้อมูล : http://www.wattanakij.com/index.php?page=know&menu=k_word กรวรรณ ภิสุทธารักษ์ 4911311787 (2)
พิมพ์กี่สี การนับจำนวนสี นับจากสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ เช่นกระดาษพื้นมีชมพู พิมพ์สีดำ อย่างนี้เรียกพิมพ์ 1 สี ในงานพิมพ์อาจจะมีสีเทาอ่อน เทาแก่ก็นับเป็นสีเดียว เพราะเป็นการลดนํ้าหนักสี แต่หมึกที่ใช้เป็นหมึกสีดำ
นาย วรรณโชค ใจเย็น 4911306498 (ครั้งที่ 2)
การพิมพ์ระบบออฟเซต (Offset)
การพิมพ์ระบบออฟเซทแผ่นแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบน แม่พิมพ์จะถ่ายทอดหมึกพิมพ์ผ่านลูกโม่ยาง และลูกโม่ยางจะถ่ายทอดหมึกพิมพ์ลงในแแผ่นกระดาษอีกทอดหนึ่ง แม่พิมพ์ระบบออฟเซทเป็นแม่พิมพ์ที่มีเม็ดสกรีนที่ละเอียดกว่าระบบเลสเตอร์เพลสมากจึงสามารถพิมพ์ภาพและพิมพ์สอดสีได้ดีกว่า ระบบเลสเตอร์เพลส การพิมพ์ระบบนี้จะไม่ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัว ๆ มาใช้เลย ปัญหาตัวพิมพ์สึกหรือหักจะไม่กิดขึ้นเลย จึงสามารถพิมพ์ได้เร็วและจำนวนมาก แต่การลงทุนขึ้นต้นของระบบนี้สูงกว่ามาก การพิมพ์ในระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสิ่งพิมพ์ที่เป็นประเภทงานพิมพ์สอดสี สิ่งพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูงและจำนวนมาก การพิมพ์ภาพในระบบออฟเซทในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก คือมีแท่นพิมพ์คือตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ในสำนักงานจนถึงขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์ได้เร็วมีทั้งพิมพ์ทีละสีจนถึงพิมพ์สี่สีจนถึงพิมพ์ 2 หน้าพร้อมกัน เป็นต้น นาย วรรณโชค ใจเย็น 4911306498
(ครั้งที่ 3)
การพิมพ์อัดสำเนา(Copy print) เป็นการพิมพ์ที่เหมือนกับการถ่ายเอกสาร โรเนียว ไขปรุ แต่ทำได้เร็ว คมชัดกว่า การพิมพ์ในลักษณะนี้รู้จักกันในชื่อของเครื่องพิมพ์ดิจิตอลกอปปี้ ปรินท์ (Digital copy print) แม่พิมพ์ทำจากกระดาษไข สามารถพิมพ์ได้คราวละหลายร้อยแผ่น ให้ความคมชัดทั้งภาพและตัวอักษร แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ความคมชัดจะน้อยลง ไม่เหมาะกับการพิมพ์จำนวนมากๆ และการพิมพ์สอดสี ที่มา : http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_14_3.pdf นายวรรณโชค ใจเย็น 4911306498
(ครั้งที่ 4)
Duotone คือภาพพิมพ์ที่พิมพ์โดยใช้หมึกพิมพ์ 2 สี มีชั้นของความลึกดีกว่าพิมพ์สีเดียว หากมีการเลือกคู่สีที่เหมาะสม ภาพที่ได้จะดูสวยงามและมีคุณค่า นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431
ครั้งที่ 4
DPI (Dots per Inch) เป็นหน่วยวัดความละเอียดของภาพ เท่ากับจำนวนของเม็ดสีที่เรียงกันในความยาวหนึ่งนิ้ว ค่า DPI ยิ่งสูงภาพก็จะมีรายละเอียดและความคมชัดสูง
นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431
ครั้งที่ 5
Hot Stamping คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟิล์ม/ฟอล์ยลงให้ติดผิวกระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟิล์ม/ฟอล์ยอาจมีสีหรือลวดลายแปลก ๆ ก็ได้
นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431
ครั้งที่ 6
ใบแทรก ความหมายคล้ายกับหน้าแทรก ต่างกันตรงที่ใบแทรกมักไม่ถูกติดยึดอยู่กับสันหนังสือ หรือมีขนาดเล็กกว่าตัวเล่มหนังสือ นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431
ครั้งที่ 7
Embossing คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นูนขึ้นได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ
สินีนาฎ บุษบา 4911317164 /ครั้งที่ 3
ข้อมูลอ้างอิงมาจาก : http://netra.lpru.ac.th/~weta/unit1/index.html สินีนาฎ บุษบา 4911317164 /ครั้งที่ 4 ภาพปะติด (collage) เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ฯลฯ ปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก ข้อมูลอ้างอิงมาจาก : http://www.watchari.com/board/index.php?topic=1913.msg8886
สินีนาฎ บุษบา 4911317164 /ครั้งที่ 5
K (Black) สีดำซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี M (Magenta) สีชมพูซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี
Y (Yellow) สีเหลืองซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี
น.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311530 /ครั้ง ที่ 1
กลับในตัว เป็นคำที่ใช้ในโรงพิมพ์สำหรับเรียก การพิมพ์ลงบนแผ่นพิมพ์ที่ใช้เพลท 1 ชุด พิมพ์ด้านหน้าแล้วกลับกระดาษสลับข้างพิมพ์โดยด้านฟันจับกระดาษยังคงเป็นข้างเดียวกันกับด้านแรก วิธีนี้ทำให้แผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ได้งาน 2 ชุดเหมือนกัน
ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776183&Ntype=8 น.ส.ขนิษฐา สุดมี 4911311530 / ครั้งที่ 1 LPI (Lines per Inch) ความละเอียดของภาพพิมพ์เป็นจำนวนเส้นสกรีนต่อนิ้ว ค่า LPI ยิ่งสูงภาพยิ่งละเอียด การพิมพ์บนกระดาษปรู๊ฟโรงพิมพ์ควรใช้ความละเอียดไม่เกิน 125 LPI กระดาษปอนด์ไม่ควรเกิน 150 LPI กระดาษอาร์ตปกติใช้ 175 LPI แต่มีโรงพิมพ์หลายแห่งใช้ความละเอียดสูงกว่านี้
http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่2
เนกาตีฟ (Negative) ภาพบนแผ่นฟิล์มที่มีแสงสีตรงข้ามกับความเป็นจริง ที่สว่างจะมืด ที่มืดจะกลับสว่าง
http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่3
เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณของแผ่นพิมพ์ เช่นตัวอักษรสำคัญ ภาพที่ต้องการเน้น ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้เคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่นก่อนเคลือบเฉพาะจุด ซึ่งทำให้ชิ้นงานออกมาดูดี
http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่4
Plate sizeหมายถึง ขนาดของแผ่นโลหะแม่พิมพ์
ข้อมูลอ้างอิง www.baanidea.com/index.php/article/.../253-2010-04-09-14-52-41 น.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ 2 ใบชุด2/0 วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 2 สี ด้านหลังไม่พิมพ์สำเนาของใบเสร็จแต่ละชุด (รวมต้นฉบับ) คือเวลาพิมพ์ใบเสร็จ 1 เล่มจะมี50 ชุด แต่ละชุดจะมีสำเนา ถ้าบอกว่าใบเสร็จ 4 ใบชุด หมายถึงใบเสร็จแต่ละชุด(แต่ละเลขที่) จะมี สำเนา 3 ใบรวมต้นฉบับเป็น 4 ใบน.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ Open Edition คือตัวเลขและตัวอักษรที่เขียนกำกับไว้ที่มุม ล่างซ้ายของผลงาน ในกรณีที่มีการพิมพ์ซ้ำ เช่น เมื่อพิมพ์ชุดแรกเสร็จสิ้นไปแล้ว ปรากฏว่าความต้องการของตลาดยังมีอยู่ แหล่งพิมพ์จะจัดพิมพ์ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3... ก็ได้ตามลิขสิทธิ์ที่ได้ตกลงกัน ในกรณีจะเขียนกำกับว่า 2 nded. และเพื่อให้เป็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้นมักนิยมเขียนตัวเลขกำกับลำดับชิ้นไว้ด้วย เช่น 2 nded., 3/100 หมายถึงเป็นงานชิ้นที่ 3 ในจำนวนพิมพ์ 100 ชิ้นของการพิมพ์ชุด (หรือครั้ง) ที่ 2 น.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ 4 Crop mark คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ ที่แสดงถึงลิขสิทธิ์ หรือความเกี่ยวข้อง เช่น Crop mark, อักษรย่อ , สัญลักษณ์ของผู้พิมพ์ (printer), หรือ Crop mark ของแหล่งพิมพ์-ผู้จัดพิมพ์ (Workshop,publisher) ตลอดจนอักษรย่อ ฯลฯ ของผู้สะสมงาน (collector)Chop mark นี้มักทำป็นแม่พิมพ์นูนแบบกดด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื่องจากการพิมพ์นูนไม่ต้องใช้หมึกพิมพ์ ดังนั้นเมื่อพิมพ์ประทับลงในงาน(ไม่ใช่ที่การ์ด) จะกลมกลืนไปกับเนื้อกระดาษ ไม่เด่นชัดจนทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน เนื่องจากมีลักษณะเป็นลายนูน จึงยากต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือทำให้ลบเลือน เนื่องจากความสะดวกลวดเร็วทางเทคนิค สำหรับตำแหน่งพิมพ์ Crop mark นั้นนิยมพิมพ์ไว้ที่บริเวณด้านล่างขวาของงาน ในส่วนที่เป็นขอบรอบนอก (margin)แต่ในกรณีที่ขนาดของงาน (image) นั้น เต็มเนื้อที่ไม่เหลือเนื้อที่กระดาษพิมพ์เลย ก็มักจะพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ชนิดใช้หมึก (เช่น พิมพ์ตรายาง) ไว้ที่ด้านหลังของงานน.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ พิมพ์สอดสี คือการพิมพ์ด้วยแม่สี 4 สีโดยพิมพ์ภาพพิมพ์ของแม่สีแต่ละสี (ภาพพิมพ์ซึ่งประกอบด้วยเม็ดสกรีนเล็ก ๆ มีความหนาแน่นต่าง ๆ กันตามลักษณะของภาพ) ทีละสีซ้อนทับกันจนได้เป็นภาพพิมพ์หลายหลากสีเลียนแบบภาพต้นฉบับ ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 ครั้งที่ 6 ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 ครั้งที่ 7 สกัม (Scum) อาการที่เยื่อน้ำบนแผ่นเพลทน้อยจนทำให้หมึกพิมพ์ไปเกาะอยู่บนบริเวณทั่วไปของเพลทแทนที่จะเกาะเฉพาะบริเวณที่เป็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์จึงดูเลอะหมึกตามไปด้วย ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 ครั้งที่ 8 ชาร์ตสี ( Colour Chart ) ตารางแสดงผลของเฉดสีต่าง ๆ อันเกิดจากการกำหนดความหนาแน่นของเม็ดสกรีนของแม่สีทั้งสี่ที่ปริมาณต่าง ๆ กัน ช่วยให้ผู้ออกแบบและโรงพิมพ์ใช้เทียบสี ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 ครั้งที่ 5 | ฉาก ในความหมายทางการพิมพ์คือ เส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ สองเส้นที่ตั้งฉากกัน ใช้สำหรับยึดเป็นหลักในการออกแบบ การพิมพ์ การซ้อนทับของสี การตัดเจียน การพับ และขั้นตอนอื่น ๆ ในโรงพิมพ์ แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.supremeprint.net โดยปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(1) การพิมพ์ภาพ ( PRINTING ) การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป โดย น.ส จุฬารัตน์ บุญขำ 4911314799(ครั้งที่1) Lithography คือระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการว่าน้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกัน ในการพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เพลทแม่พิมพ์จะผ่านลูกน้ำเพื่อสร้างเยื่อน้ำบาง ๆ บนเพลท ผิวของเพลทจะมีส่วนที่เป็นเม็ดสกรีนซึ่งเคลือบด้วยสารที่ไม่รับน้ำ น้ำจึงไม่เกาะติด เมื่อเพลทผ่านลูกหมึก หมึกจะไม่ไปเกาะผิวเพลทส่วนที่เป็นน้ำแต่จะไปเกาะที่เป็นเม็ดสกรีน ทำให้เกิดภาพตามที่ต้องการถ่ายทอดลงบนผ้ายางและกระดาษในที่สุด นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431 ครั้งที่ 1 Assembled Plate คือ เพลท(แม่พิมพ์) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เศษวัสดุสิ่งของ เศษแม่พิมพ์ วัสดุที่เก็บได้ หรือวัสดุอื่นๆ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกปะติดบนแผ่นแข็งให้เป็นรูปทรงเพื่อทำแม่พิมพ์ หรือใช้วางประกอบกันบนแท่นพิมพ์โดยตรง Assembled Plate ทำขึ้นเพื่อการพิมพ์รอยนูน(Embossing) การพิมพ์ร่องลึก (Intalgio) และการทำภาพพิมพ์นูน (Relief Printing) ข้อมูลจาก http://www.chaarts.com/article%20print%20making%204.html จุฬารัตน์ บุญขำ 4911314799 (ครั้งที่2)7/04/10 เจาะปรุ (Perforate) เป็นกรรมวิธีที่ทางโรงพิมพ์ทำเส้นปรุกึ่งขาดบนกระดาษ แต่ยังไม่ขาดออกจากกัน เมื่อต้องการให้แยกออกใช้แรงดันเพียงเล็กน้อยก็จะลหุดออกจากกัน เพื่อสะดวกต่อการฉีกในแนวที่ต้องการ ข้อมูล : http://www.supremeprint.net ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(2) ตัดเจียน การตัดเจียนในโรงพิมพ์หมายถึงการใช้เครื่องตัดกระดาษตัดตั้งกระดาษให้ขาดจากกัน อาจตัดเข้าไปในขอบกระดาษเพียงเล็กน้อยเพื่อให้กระดาษทั้งตั้งเสมอกัน เรียกว่าการเจียน ข้อมูล : http://www.ggm-th.com ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(3) Line Screen การวัดความละเอียดของชิ้นงานพิมพ์เป็นจำนวนเส้นของเม็ดสกรีนต่อหนึ่งหน่วยความยาว หากค่าดังกล่าวยิ่งสูง ภาพจะมีความคมชัดและมีรายละเอียดยิ่งดีขึ้น ข้อมูล : http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 กรวรรณ ภิสุทธารักษ์ 4911311787 (1) Feeder ส่วนของเครื่องพิมพ์ที่ทำหน้าที่ป้อนกระดาษทีละแผ่นจากตั้งกระดาษเข้าไปยังหน่วยพิมพ์ นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431 ครั้งที่ 2 การแยกสี (Color Separation) คือการแยกสีจากงานอาร์ตเวิร์คสีออกมาเป็นภาพ 4 ภาพสำหรับแม่สีแต่ละสี เมื่อนำไปทำเป็นเพลทแม่พิมพ์ 4 แผ่น ทางโรงพิมพ์ก็สามารถใช้พิมพ์ด้วยแม่สีแต่ละสีซ้อนทับกันได้ภาพสอดสีเหมือนต้นฉบับ นาย มงคล อ่อนชะอ่ำ รหัสนักศึกษา 4911306431 ครั้งที่ 3 Resolution ในทางการพิมพ์หมายถึงความละเอียดของภาพ มีหน่วยวัดเป็นจำนวนเม็ดสีต่อหนึ่งหน่วยความยาว เช่น DPI คือ dots per inch จุฬารัตน์ บุญขำ 4911314799 (ครั้งที่ 3) Cancellation Proof คือภาพพิมพ์ที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ที่ได้ทำเครื่องหมายขีดฆ่าหรือทำลายภายในแม่พิมพืแล้ว ซึ่งจะ พิมพ์หลังจากได้พิมพ์ edition สิ้นสุดลง สำหรับภาพพิมพ์หลายสี วิธีปฏิบัติคือทำลายแม่พิมพ์เดียว การพิมพ์ Cncellation Proof เป็นการประกันต่อนักสะสมว่าจะไม่มีการพิมพ์ต่อไปอีก ข้อมูลจากhttp://www.chaarts.com/article%20print%20making%204.html ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217(ครั้งที่1) Drypoint เป็นกรรมวิธีของภาพพิมพ์โลหะร่องลึก ซึ่งร่องรอยถูกสร้างขึ้นบนแม่พิมพ์โดยการขูดขีดด้วยเครื่ืองแหลมคมเครื่องมือนี้ สร้างขอบแหลมคมออกมา ทั้งเส้นที่ขูดขีดเป็นร่องลึกและขอบเส้นที่ยื่นนี้จะอุ้มหมึกไว้ เมื่อเช็ดแม่พิมพ์และพิมพ์ เส้นที่ได้จะมีความอ่อนนุ่มดูคล้ายกำมะหยี่ โดยปกติจะทำ Dypoint บนแม่พิมพ์ทองแดง และมักทำควบคู่กับเทคนิคทางแม่พิมพ์โลหะอื่นๆ เช่น etching และ aquatint ข้อมูลจากhttp://www.chaarts.com/article%20print%20making%204.html ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217(ครั้งที่2) ไดคัท มีสองความหมายความหมายแรก คือการตัดขอบกระดาษแต่ไม่เหมือนกับการเจียน การเจียนจะตัดเป็นเส้นตรง ส่วนไดคัท เป็นการตัดขอบตามรูปทรงต่างๆ จะหยักจะโค้งอย่างไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการเจียนความหมายที่สอง คือการลบฉาก หลังของภาพออก เช่น ถ่ายภาพบ้านจัดสรรมาแล้วฉากหลังไม่สวยงาม จึงลบฉาก หลังออกเพื่อนำไปวางลงบนฉากหลังอื่น หรือไม่เช่นนั้นก็ปล่อยให้เป็นฉากหลังขาว ข้อมูลจากhttp://www.tac-printing.com/Know%20how/word%20of%20printing.htm ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217 (ครั้งที่3) โมแม่พิมพ์ (plate cylinder) เป็นโลหะทรงกระบอกที่รองรับแผ่นแม่พิมพ์โลหะซึ่ง โอบโมไว้และมีที่จับยึดไว้อย่างมั่งคงมีตำแหน่งสัมผัวกับลูกกลิ้งน้ำและลูกกลิ้งหมึกชุดสุดท้ายและสัมผัสกับโมในขณะพิมพ์ ถ่ายโอนภาพจากแม่พิมพ์ลงบนโมยาง นาย วรรณโชค ใจเย็น 4911306498 (ครั้งที่ 1) Typesetting คือการจัดเรียงตัวอักษร ลายเส้นต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นเพื่อการจัดทำอาร์ตเวิร์คสำหรับหน้าหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ แล้วนำไปใช้ในการพิมพ์ต่อไป ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8
นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 (ครั้งที่ 1) เข้าเล่ม (Binding) ขั้นตอนในโรงพิมพ์ เป็นการรวมแผ่นพิมพ์ให้เป็นเล่ม เริ่มจากการตัดเจียนแผ่นพิมพ์หลังจากพิมพ์เสร็จ พับ เก็บรวมเล่ม ยึดติดเป็นเล่ม ซึ่งอาจใช้การเย็บมุงหลังคา หรือไสสันทากาว หรือเย็บกี่ทากาว หรือเย็บกี่หุ้มปกแข็ง เสร็จแล้วตัดเจียนให้เสมอกัน (ยกเว้นใช้วิธีหุ้มปกแข็ง) ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776183&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 (ครั้งที่ 2) ตัดตก ในการออกแบบอาร์ตเวิร์ค จำเป็นต้องขยายพื้นที่ภาพพิมพ์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย เป็นการเผื่อความคลาดเคลื่อนในการทำงานภายในโรงพิมพ์ เช่น การจัดเจียน จึงเรียกการเผื่อนี้ว่าเผื่อตัดตก ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 (ครั้งที่ 3) หน้ายก การพิมพ์หนังสือในโรงพิมพ์ หน้ายกคือจำนวนหน้าที่ได้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ซึ่งมีขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว หรือ 17.5 x 24 นิ้ว หากพับ 1 ครั้ง ได้ 4 หน้า เรียก 4 หน้ายก หากพับ 2 ครั้งได้ 8 หน้า เรียก 8 หน้ายก
ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776560&Ntype=8 นางสาวกนกกาญจน์ น้อยสุข 4911316976 (ครั้งที่ 4) เพลทตัดสอง คือขนาดของเพลทซึ่งทางโรงพิมพ์สามารถนำไปใช้พิมพ์แผ่นพิมพ์ขนาดตัดสองได้ คือขนาด 25 x 36 นิ้ว ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776557&Ntype=8 ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217 (ครั้งที่4) โฟโต้กราวัวร์ (Photogravure Printing) เป็นการพิมพ์ร่องลึกอีกแบบหนึ่ง มีแม่พิมพ์เป็นโลหะ ทรงกระบอกทำแม่พิมพ์โดยภาพถ่ายกัดกรดให้เป็นหลุมเล็กๆ มีขนาดหรือความตื้น ลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลให้งานพิมพ์มีความเข้มของสีที่แตกต่างกัน วิธีนี้สามารถพิมพ์บนวัสดุได้หล่ยชนิด เช่น การพิมพ์กระดาษปิดฝาผนัง แสตมป์ และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ข้อมูล : http://www.108graphicdesign.com ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(4) อินทากรีโอ (Intaglio Printing) แม่พิพม์จะทำด้วยทองแดง หรือแผ่นโลหะที่สามารถนำมาแกะสลักได้ โดยแกะเป็นรูปรอยที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งมักจะเป็นลายเส้น เมื่อผ่านหมึกเข้ามาต้องเช็ดบริเวณผิวหน้าให้สะอาดเรียบร้อยก่อนนำกระดาษมาพิมพ์ การพิมพ์แบบนี้จะได้การพิมพ์ที่คมชัดมากจึงเหมาะสมสำหรับการพิมพ์ เช่น การพิมพ์ธนบัตร โฉนดที่ดิน เเสตมป์ เป็นต้น ข้อมูล : http://www.108graphicdesign.com ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(5) ผูก Case : ชนิดของการเชื่อมโยงที่ใช้ในการทำหนังสือปกแข็งโดยใช้กาว นาย ฐานทัพ เรืองธารา 4911306100 (ครั้งที่4) เข้าเล่มแบบไสกาว (ไสสันทากาว) (Side Binding) การเข้าเล่มแบบนี้เป็นการเข้าเล่มที่นิยมมากที่สุด เช่น นิตยสาร หนังสือเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ วิธีนี้นิยมใช้เนื่องจากราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ ข้อเสียคือ จะหลุดได้ง่ายหากมีการกางออกมากๆ วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว จะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มได้แล้วมาไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อน ที่ต้องไสขุยก่อนนั้นเพื่อให้กาวได้แทรกซึมง่ายขึ้น การยึดติดจะดีขึ้น แล้วจึงนำไปทากาว โดยกางที่นิยมใช้ก็จะมี 2 สี คือ ขาว กับ เหลือง ข้อมูล : http://www.igetweb.com ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(6) การเย็บอกหรือการเย็บมุงหลังคา เป็นการเย็บเล่มบนรอยพับของ หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่สอดเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเย็บ เหมาะกับหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่มีความหนาไม่มาก ข้อมูล : http://www.igetweb.com/www/pongkorn/index.php?mo=3&art=400169 ปรารถนา อินทะปัญญา 4911311662/(7) กระดาษเคมี = เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเสร็จที่เขียนด้านบนแล้ว จะติดลงไปถึงแผ่นที่อยู่ด้านล่างด้วย โดยไม่ต้องใช้กระดาษคาร์บอน หรือจะเรียกว่ากระดาษก็อปปี้ในตัวก็ได้ ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่1 Resolution : ในทางการพิมพ์หมายถึงความละเอียดของภาพ มีหน่วยวัดเป็นจำนวนเม็ดสีต่อหนึ่งหน่วยความยาว เช่น DPI คือ dots per inch ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 สินีนาฎ บุษบา 4911317164 /ครั้งที่2 CIP 4 คือการร่วมกันระหว่างผู้ค้า ที่ปรึกษา ผู้ใช้ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ในเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการพิมพ์ การออกแบบ และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องมือเครื่องจักร ซอฟท์แวร์ ขบวนการต่าง ๆ http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่5 Feeder ส่วนของเครื่องพิมพ์ที่ทำหน้าที่ป้อนกระดาษทีละแผ่นจากตั้งกระดาษเข้าไปยังหน่วยพิมพ์ http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่6 เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณของแผ่นพิมพ์ เช่นตัวอักษรสำคัญ ภาพที่ต้องการเน้น ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้เคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่นก่อนเคลือบเฉพาะจุด ซึ่งทำให้ชิ้นงานออกมาดูดี ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 น.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ 6 เจาะขาว หมายถึงตัวอักษรหรือลายเส้นเป็นสีขาว (ไม่มีเม็ดสี) ภายในพื้นหรือภาพที่เป็นสีเข้ม ตัวอักษรที่เล็กและบางหากเจาะขาวด้วยอาจสร้างปัญหาในการพิมพ์ให้กับโรงพิมพ์ ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 น.ส.ขนิษฐา สุดมี 4911311530 / ครั้งที่ 2 Imagesetter เครื่องสร้างภาพ(ที่ประกอบด้วยเม็ดสกรีนที่เรียงตัวกัน)ลงบนแผ่นฟิล์มแยกตามสีแต่ละสีที่จะนำไปใช้ทำเพลทแม่พิมพ์ ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 น.ส.ขนิษฐา สุดมี 4911311530 / ครั้งที่ 3 เย็บกี่หุ้มปกแข็ง กรรมวิธีคล้ายกับเย็บกี่ทากาว ต่างกันตรงที่มีขั้นตอนการนำกระดาษแข็งหนามาหุ้มด้วยกระดาษบางที่มีภาพพิมพ์หรือกระดาษ/ผ้าสำหรับทำปก แล้วจึงนำปกมาติดกับตัวเล่ม http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776173&Ntype=8 ธาดาพงศ์ คายสี 4911311639/ครั้งที่7 หมึกสะท้อนแสง เป็นหมึกทีมีส่วนผสมของสารสะท้อนแสง เมื่อโรงพิมพ์นำไปใช้พิมพ์งานภาพที่มีสีสะท้อนแสงจะสว่างตามแสงที่ส่องกระทบไป มีเฉดสีให้เลือกหลายเฉดสี ข้อมูลอ้างอิง http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776305&Ntype=8 น.ส.ขนิษฐา สุดมี 4911311530 / ครั้งที่ 4 ความหนา (Caliper) หมายถึง ระยะห่างระหว่างผิวกระดาษด้านหนึ่งไปยังผิวกระดาษอีกด้านหนึ่งโดยวัดในแนวตั้งฉากกับผิวกระดาษและวัดในสภาวะและวิธีการตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หน่วยวัดจะเป็นมิลลิเมตร ไมโครเมตร หรือเป็นนิ้ว สำหรับเมืองไทยนิยมใช้เป็นมิลลิเมตร สิ่งที่มีผลทำให้เกิดความหนาของกระดาษที่แตกต่างกันคือ น้ำหนักพื้นฐานของกระดาษ เยื่อกระดาษที่นำมาใช้ กรรมวิธีในการทำและบดเยื่อ แรงกดของลูกกลิ้งในขบวนการทำรีดกระดาษระหว่างผลิต ดังนั้น น้ำหนักพื้นฐานของกระดาษที่เท่ากัน ก็อาจมีความหนาที่ไม่เท่ากันได้ ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538770942 น.ส.อุบลรัตน์ สะอาด 4911311886 /ครั้งที่ 7 2/0 วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 2 สี ด้านหลังไม่พิมพ์ ข้อมูลอ้างอิงจาก: http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=538776173 นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง 4911428052/ครั้งที่ 1 4/1 วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 4 สี ด้านหลังพิมพ์ 1 ข้อมูลอ้างอิงจาก: http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=538776173 นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง 4911428052/ครั้งที่2 4+UV/4 วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 4 สี อาบ UV ด้านหลังพิมพ์ 4 สี ข้อมูลอ้างอิงจาก: http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=538776173 นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง 4911428052/ครั้งที่3 Colour Trial Proof การทดลองพิมพ์เพื่อทดสอบสีก่อนที่จะพิมพ์ edition ภาพทดสอบพิมพ์นี้จะถูกเขียนลงว่า Colour Trial Proof หรือ c.t.p. ตามด้วยเลขอารบิค หรือโรมันข้อมูลอ้างอิงจาก : http://www.chaarts.com/article%20print%20making%204.html สินีนาฎ บุษบา 4911417164/ครั้งที่ 6 Tympan : คือแผ่นพลาสติกที่วางอยู่ระหว่างไม้ครูด (scraper bar) และกระดาษพิมพ์ที่วางบนแม่พิมพ์ในการพิมพ์ลิโธกราฟ แท่นพิมพ์ถูกออกแบบเพื่อให้ไม้ครูดถ่ายแรงกดโดยตรงผ่านแผ่น tympan ไปสู่กระดาษและพิมพ์บนแท่นพิมพ์ tympan จะถูกทาด้วยจารบีเพื่อให้มั่นใจว่าไม้ครูดจะเลื่อนไปอย่างราบรื่นไม่หยุดกลางแม่พิมพ์ ข้อมูลอ้างอิงจาก : http://www.chaarts.com/article%20print%20making%204c.html สินีนาฎ บุษบา 4911317164 / ครั้งที่ 7 C (Cyan) สีฟ้าซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี ข้อมูลอ้างอิงจาก: http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=538776173 นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง 4911428052/ครั้งที่4 Color Bar คือแถบสีบนแผ่นพิมพ์ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ของเนื้องาน ทางโรงพิมพ์ใช้สำหรับตรวจดูปริมาณหมึกที่จ่ายลงบนแผ่นพิมพ์ให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการดูคุณภาพของงานพิมพ์ด้านต่าง ๆ ข้อมูลอ้างอิงจาก: http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=8&Id=538776173 นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง 4911428052/ครั้งที่5 Pantone Matching Systems (PMS) ระบบการตั้งรหัสมาตรฐานสำหรับสีแต่ละเฉดสีเพื่อความเข้าใจตรงกันของผู้ใช้สี และทำให้สามารถเลือกสีได้ถูกต้องจากรหัสของสีนั้น ๆ ข้อมูลจากhttp://www.supremeprint.net ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217 (ครั้งที่5) ข้อมูลจากhttp://www.supremeprint.net ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217 (ครั้งที่6) Dutch Mordant สารละลายเป็นกรด ใช้กัดแม่พิมพ์ทองแดง ประกอบด้วยส่วนผสมของน้ำกับไฮโดรคลอริค (hydrochloric acid) และเกร็ดโปตัสเซียมคลอเรท ( potassium chloratecrtstals) ข้อมูลจากhttp://www.chaarts.com/ ธรรศนัยน์ เลิศไกร 4911306217(ครั้งที่7) Caliper : ความหนากระดาษใน thousandths ของนิ้ว http://www.universalprinting.com/help/glossary.html นาย ฐานทัพ เรืองธารา 4911306100 (ครั้งที่ 5) OpenType font ™ -- OpenType เป็น font ข้ามแพลตฟอร์มรูปแบบแฟ้มใหม่ที่พัฒนาร่วมกันโดย Adobe และ Microsoft สองประโยชน์หลักของรูปแบบ OpenType จะเข้ากันได้ข้ามแพลตฟอร์มของ (font ไฟล์เดียวกันทำงานบน Macintosh และคอมพิวเตอร์ Windows) และความสามารถในการสนับสนุนชุดอักขระขยายอย่างกว้างขวางและคุณลักษณะเค้าโครงที่ให้การสนับสนุนด้านภาษายิ่งขึ้นและการควบคุมเกี่ยวกับวิชาการพิมพ์หรือทำตัวพิมพ์ขั้นสูง ในเครื่อง Windows แบบอักษร OpenType มีนามสกุล . otf นาย ฐานทัพ เรืองธารา 4911306100 ครั้งที่ 6 |